จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย


การป้องกันกำจัดหนอนกออ้อย

การเข้าทำลาย
หนอนกออ้อยมี 5 ชนิด พบหนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู อยู่คละกันและเข้าทำลายอ้อยในระยะแตกกอ สำหรับหนอนกอลายจุดใหญ่ พบระบาดรุนแรงมากในระยะอ้อยเป็นลำ ส่วนหนอนกอลายใหญ่ พบปริมาณน้อยในทุกระยะการเจริญเติบโตของอ้อย
ในแหล่งที่มีการระบาดของหนอนกออ้อยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรต้องสำรวจการทำลายของแมลงชนิดนี้อย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก
การเตรียมท่อนพันธุ์
1. หลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของหนอนกอลายจุดใหญ่
2. หากจำเป็นต้องใช้ท่อนพันธุ์ในข้อ 1 ให้เกษตรกร ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
   - แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาว อัตรา 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 7 ชั่วโมง
   - แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
   - แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง
   โดยต้องแช่ท่อนพันธุ์อ้อยให้จมอยู่ใต้น้ำ
ระยะอ้อยแตกกอ (อ้อยอายุ 1-4 เดือน) ในสภาพแห้งแล้ง จะพบหนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู ระบาดทำลายทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอเป็นจำนวนมาก ซึ่งในระยะนี้ หนอนกอลายจุดใหญ่จะพักตัวอยู่ภายในโคนต้นอ้อยใต้ดิน
ถ้าสำรวจพบหน่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวเนื่องจากการทำลาย จำนวน 1-2 ยอดต่อไร่ หรือพบกลุ่มไข่ 1-2 กลุ่มต่อไร่ แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
  1. ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 8 ครั้ง
  2. ตัดหน่ออ้อยที่แสดงอาการยอดเหี่ยวให้ถึงโคนต้น แล้วรวบรวมเผาทำลาย
  3. พ่นเชื้อแบคทีเรียบีที ในเวลาเย็น อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำลายหนอนวัย 1-3 (ความยาวหนอน 0.3-0.8 เซนติเมตร) ก่อนที่หนอนจะเจาะเข้าทำลายหน่ออ้อย
ระยะอ้อยเป็นลำ (อ้อยอายุ 5-12 เดือน) เป็นระยะที่อันตรายมากที่สุด เพราะหนอนกอลายจุดใหญ่จะออกจากระยะพักตัว กินอาหาร เข้าดักแด้ ออกเป็นผีเสื้อ และวางไข่บนต้นอ้อยเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
ถ้าสำรวจพบต้นอ้อยถูกทำลาย โดยสังเกตจากมูลหนอนที่มีสีขาว หรือสีน้ำตาล บริเวณอ้อยปล้องที่ 2-3 จากยอด หรือขอบใบอ้อยเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
  1. ตัดยอดอ้อยต่ำกว่าบริเวณที่พบมูลหนอน รวบรวมทำลายโดยนำไปแช่น้ำธรรมดา นาน 25 ชั่วโมง
  2. ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ติดต่อกันก่อนตัด อ้อย 1 สัปดาห์
  3. ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 500-1,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์ ตลอดฤดูปลูก
  4. พ่นเชื้อแบคทีเรียบีที ในเวลาเย็น อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำลายหนอนที่เพิ่ง ฟักออกจากไข่
ระยะตัดอ้อยเข้าโรงงาน
แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
1. ห้ามเผาใบอ้อยก่อนและหลังตัดอ้อยเข้าโรงงานเพราะ
   - เป็นการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา และแตนเบียนหนอนโคทีเซีย ที่ปล่อยไป
   - เป็นสาเหตุการระบาดของหนอนกอลายจุดเล็ก ในฤดูปลูกต่อไป
   - เป็นการทำลายความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
2. ถ้าปลูกอ้อยใหม่
   - ไถตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์
   - เก็บรวบรวมกออ้อยที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
   - เตรียมท่อนพันธุ์อ้อยตามคำแนะนำ
   - ควรปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความทนทานต่อการทำลาย เช่น เอฟ 156 อู่ทอง 1 เค 84-200 เป็นต้น
3. ถ้าไว้ตออ้อย
   - เมื่อสำรวจพบรอยทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่ที่ตออ้อย ประมาณ 10% ของลำ ให้ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 500-1,000 ตัวต่อไร่ต่อสัปดาห์
   - ถ้าพบตออ้อยถูกทำลายมากกว่า 50% ของลำ แนะนำให้ปลูกอ้อยใหม่ และรวบรวมตออ้อยที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
การป้องกันกำจัด
1. หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู ใช้สารฆ่าแมลง ดังนี้
- เดลทาเมนทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ใช้ในกรณีเกิดภาวะแห้งแล้งความชื้นในดินไม่พอหรือมีหน่ออ้อยแตกใหม่หลังเก็บเกี่ยว
- คาร์โบฟูราน 3% G อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ (สารฆ่าแมลงชนิดมีพิษร้ายแรงหรือร้ายแรงยิ่ง) โรยสารฆ่าแมลงบนท่อนพันธ์อ้อยก่อนกลบดินหรือตอนแต่งตอ สำหรับอ้อยตอให้โรยข้างกออ้อยทั้งสองด้าน และใส่ซ้ำในอัตราเดิม หลังปลูกหรือแต่งตอแล้ว 45 วัน
2. หนอนกอลายจุดใหญ่ ใช้สารฆ่าแมลง ดังนี้
- ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นอ้อยเมื่อพบไข่ 0.2-1.0 กลุ่ม/ต้น หรือ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวเต็มวัย 1-5 ตัว/กอ ใช้ในระยะอ้อยเป็นลำและพ่นตอนเย็น
- เบตาไซฟลูทริน/ คลอร์ไพริฟอส 1.25%/25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการะบาดของหนอนกอลายจุดใหญ่ 10% พ่นตออ้อย หลังจากตัดอ้อยแล้วไม่เกิน 10 วัน เพื่อป้องกันหนอนเข้าพักตัวในตออ้อย
รูปภาพประกอบ

หนอนกอลายจุดเล็ก

เมื่ออ้อยเป็นลำ
มักจะทำให้ปล้องอ้อยหดสั้น

อาการรุนแรงในอ้อยที่เป็นลำ
อ้อยจะตายทั้งกอและใส้กลวงเน่า

ไข่

หนอน

ดักแด้

ตัวเต็มวัย
หนอนกอสีชมพู 


 

ไข่วางเป็นกลุ่มสีชมพู

หนอน

ดักแด้

ตัวเต็มวัย
หนอนกอสีขาว


อาการยอดกุดแห้ง และใบอ้อยเป็นรูพรุน เนื่องจากการทำลายในระยะเป็นหน่อ


อาการยอดพุ่มในระยะเป็นลำ

ไข่

หนอน

ดักแด้

ตัวเต็มวัย
หนอนกอลายจุดใหญ่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น