จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกผักสวนครัว

การปลูกผักสวนครัว
ความเป็นมา
 ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทยโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
ข้อดีของการปลูกผักสวนครัว
  ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละ
ประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ
ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และพวกเด็ก ๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูงชึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกายและช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
การเลือกสถานที่ปลูก
   1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด
อยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนักเพื่อความสะดวกในการ
ปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษาและสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ
2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก ชนิดของผักที่จะปลูกควรคำนึงถึงการใช้เนื้อที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการปลูกผักมากชนิดที่สุดเพื่อจะได้มีผัก
ไว้บริโภคหลายๆ อย่าง ควรเลือกชนิดของผักที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล ทั้งนี้ควรพิจารณาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์
วันเสื่อมอายุ ปริมาณหรือน้ำหนัก โดยดูจากสลากข้างกระป๋องหรือซองที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นใหม่หรือเสื่อมความงอกแล้ว เวลา
วันที่ผลิตถึงวันที่จะซื้อ ถ้ายิ่งนานคุณภาพเมล็ดพันธุ์จะลดลง
ขั้นตอนการปลูก
ขั้นตอนการปลูก 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.การปลูกผักในแปลงปลูก
2.การปูุกผักในภาชนะ
•   คลิป ขั้นตอนการปลูก
ระยะเวลา
  
ผลผลิตที่ได้
    การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
http://www.nmt.or.th/chiangrai/bandu/Lists/List35/AllItems.aspx

การเลี้ยงนกไข่

ก า ร เ ลี้ ย ง น ก ไ ข่ ( อ า ยุ 3 5 วั น ขึ้ น ไ ป )

          เมื่อนกอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัว

          ให้นกได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้

          หากนกได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย

          โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม

          นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60 150 วัน นกกระทาบางตัว หใไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี

          การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่

          พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร

http://www.dld.go.th/service/quail/adult.html

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง


การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึงปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่งเดียวทำให้สิ้นเปลืองในการลงทุน หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังได้แก่
       การเลือกสถานที่
       บริเวณที่จะทำการเลี้ยงปลาในกระชังจะต้องมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนา(intensive) เน้นการจัดการเลี้ยงโดยใช้อาหารเป็นหลัก คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยปกติแหล่งน้ำที่นำมาเลี้ยงปลาในกระชังควรเป็นแหล่งน้ำที่มีความสมบูรณ์ กล่าวคือ จะต้องมีปริมาณธาตุอาหารต่ำ หรือกล่าวอย่างง่ายๆ คือ น้ำจะต้องใสสะอาด มีคุณภาพดี  การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถทำได้ทั้งในบ่อขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถถ่ายน้ำได้หมด หรือในอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงทั่วไป รวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นต้น โดยมีหลักในการพิจารณาถึงทำเลที่เหมาะสม ดังนี้
       การถ่ายเทของกระแสน้ำ ปกติการเลี้ยงปลาในกระชังจะอาศัยการถ่ายเทน้ำผ่านกระชังเพื่อพัดเอาน้ำดีเข้ามาและไล่เอาของเสียออกไปนอกกระชัง เสมือนมีการเปลี่ยนน้ำใหม่เพื่อให้น้ำมีคุณภาพตลอดเวลา ดังนั้น บริเวณที่เลี้ยงปลาในกระชังจึงควรมีกระแสน้ำและลม เพื่อช่วยให้การหมุนเวียนของน้ำ ภายในกระชังเป็นไปด้วยดีแต่ต้องไม่รุนแรงนัก โดยเฉพาะสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังในอ่างเก็บน้ำหรือบ่อขนาดใหญ่ กระแสลมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำในกระชัง บริเวณที่แขวนกระชังจึงควรเป็นบริเวณที่โล่งแจ้ง ห่างไกลจากร่มไม้และไม่ควรมีพรรณไม้น้ำ เนื่องจากต้นไม้และพรรณไม้น้ำมักจะบังกระแสลมและกระแสน้ำ ซึ่งจะมีผลต่อการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำในกระชัง
       ความลึกของแหล่งน้ำ  แหล่งน้ำควรมีความลึกพอประมาณ เมื่อกางกระชังแล้วระดับพื้นกระชังควรสูงจากพื้นก้นบ่อหรือพื้นน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีตลอด
       ห่างไกลจากสิ่งรบกวน  บริเวณที่ลอยกระชังควรห่างจากแหล่งชุมชน เพื่อป้องกันการรบกวนจากการพลุกพล่าน ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดกระวนกระวาย ได้รับบาดเจ็บจากการว่ายชนกระชังทำให้ปลาไม่กินอาหาร ทั้งหมดนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตตามปกติของปลาที่เลี้ยงหรือเป็นโรคติดเชื้อจากบาดแผลที่เกิดขึ้นได้
       ชนิดปลาที่จะเลี้ยงและอัตราปล่อย
       ดังได้กล่าวแล้วว่ารูปแบบการเลี้ยงในกระชังมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลานิลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทน มีตลาดรองรับ โดยเฉพาะปลานิลแปลงเพศ ซึ่งเป็นปลาเพศผู้ล้วน จะทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่าเพศเมีย อีกทั้งจะได้ปลาที่มีขนาดใหญ่และปลาแต่ละตัวมีขนาดไม่แตกต่างกันมาก อีกทั้งจะได้ปลาที่เลี้ยงจะเป็นรุ่นเดียวกันซึ่งต่างจากการเลี้ยงปลานิลรวมเพศที่มีการผสมพันธุ์วางไข่ ทำให้มีปลาหลายรุ่น และมีจำนวนแน่นบ่อ เกิดการแย่งอาหาร และพื้นที่ไม่เพียงพอ สำหรับอัตราการปล่อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดที่เริ่มปล่อย ระยะเวลาการเลี้ยง และขนาดที่ตลาดต้องการ
       อาหาร การให้อาหาร และการจัดการระหว่างการเลี้ยง
       การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา (intensive) หรือกึ่งพัฒนา (semi - intensive) เน้นการให้อาหารเพื่อเร่งผลผลิตและการเจริญเติบโต จึงควรจะใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโปรตีนค่อนข้างสูงและเหมาะสมกับความต้องการของปลาแต่ละขนาด ปัจจัยที่สำคัญควรนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการให้อาหารปลาในกระชัง ได้แก่
       ระดับโปรตีนในอาหาร ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปลานิลที่มีอายุต่างกันจะแตกต่างกัน สำหรับลูกปลาวัยอ่อน (Juvenile) และลูกปลานิ้ว (Fingerling) จะต้องการอาหารทีมีระดับโปรตีนประมาณ 30 - 40 % แต่ในปลาใหญ่จะต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 25 - 30 %
       เวลาในการให้อาหาร เนื่องจากปลานิลจะกินอาหารได้ดี เมื่อมีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงจะเป็นช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นส่วนใหญ่จึงควรให้อาหารในช่วงเวลาดังกล่าว
       ความถี่ในการให้อาหาร ปลานิลเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหารจริงจึงสามารถกินอาหารได้ทีละน้อยและมีการย่อยอาหารที่ค่อนข้างช้า การให้อาหารครั้งละมากๆ จะทำให้สูญเสียอาหารและก่อให้เกิดสภาวะน้ำเสียได้ ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารเม็ดสูงสุดจึงควรให้อาหารแต่น้อย แต่ให้บ่อยๆ โดยความถี่ที่เหมาะสมคือ ปริมาร 4 - 5 ครั้งต่อวัน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและทำให้ผลตอบแทนในเชิงเศรษฐศาสตร์สูงสุด
       อัตราการให้อาหาร ปริมาณอาหารที่ให้ปลากินจะขึ้นอยู่กับขนาดของปลาและอุณหภูมิ หากอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจะทำให้อัตราการกินอาหารของปลาสูงขึ้นตามไปด้วย อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25 - 30 องศาเซลเซียล ควรให้อาหาร 20 % ของน้ำหนักปลา สำหรับปลาขนาดเล็กในปลารุ่นอัตราการให้อาหารจะลดลงเหลือ ประมาณ 6 - 8 % และสำหรับปลาใหญ่ อัตราการให้อาหารจะเหลือเพียง ประมาณ 3 - 4 %
       การจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรมีการตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม
       การเก็บเกี่ยวผลผลิต
       การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งสำหรับการจัดการการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการเลี้ยงในกระชังควรคำนึงถึงขนาดของปลาและปริมาณที่ตลาดต้องการ
       การสร้างกระชัง
       รูปร่างและขนาดของกระชัง
       กระชังที่ใช้เลี้ยงปลานิลมีรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปกลม เป็นต้น รูปร่างของกระชังจะมีผลต่อการไหลผ่านของกระแสน้ำที่ถ่ายเทเข้าไปในกระชัง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเท่ากันๆ กระชังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะมีพื้นที่ผิวที่ให้กระแสน้ำไหลผ่านได้มากกว่ากระชังรูปแบบอื่นๆ
       ขนาดกระชัง ที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ขนาดพื้นที่ที่แขวนกระชัง ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ขนาดกระชังที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ
       กระชังสี่เหลี่ยม ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.5 หรือ 2 x 2 x 2.5 เมตร     กระชังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4 x 2 x 2.5 เมตร
       สำหรับต้นทุนค่าสร้างกระชัง ต้นทุนต่อปริมาตรจะลดลงเมื่อขนาดของกระชังใหญ่ขึ้นแต่ผลผลิตต่อปริมาตรก็จะลดลงด้วย เนื่องจากกระชังใหญ่กระแสน้ำไม่สามารถหมุนเวียนได้ทั่วถึง ความลึกของกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีความลึก 2.5 เมตร เมื่อลอยกระชังจะให้กระชังจมอยู่ในน้ำเพียง 2.2 เมตร โดยมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ความลึกของกระชังมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาเช่นกัน ปกติระดับออกซิเจนทีละลายในน้ำจะสูงบริเวณผิวน้ำ ที่ระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ปริมาณออกศิเจนที่ละลายในน้ำเพียง 50 - 70 % ของปริมาณออกซิเจนที่ผิวน้ำเท่านั้น ดังนั้น การสร้างกระชังไม่ควรให้ลึกเกินไป เนื่องจากปลาจะหนีลงไปอยู่ในส่วนที่ลึกซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำ และจะส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ดังนั้นขนาดกระชังขึ้นอยู่กับปัจจัยเป็นองค์ประกอบของการเลี้ยงซึ่งผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจโดยพิจารณาถึงจำนวนปลาที่ปล่อย กระชังขนาดเล็กที่ปล่อยหนาแน่น ให้ผลผลิตต่อปริมาตรสูง ดูแลจัดการง่าย แต่ผลผลิตรวมอาจต่ำกว่ากระชังขนาดใหญ่ดังกล่าวข้างต้น
       นอกจากนี้บริเวณผนังกระชังด้านบน ควรใช้มุ้งเขียวขนาดความกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ขึงทับไว้เพื่อป้องกันมิให้อาหารหลุดออกนอกกระชังในระหว่างการให้อาหาร
       การแขงนกระชัง ควรแขวนให้กระชังห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมุมอับระหว่างกระชังเป็นการลดสภาวะการขาดออกซิเจน หากจำเป็นควรใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องสูบน้ำช่วยให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำภายในกระชังและเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำอีกด้วย
       ขนาดตาอวนที่ใช้ทำกระชัง จะต้องเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีลอดไปได้ อีกทั้งจะต้องให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวกและป้องกันไม่ให้ปลาขนาดเล็กภายนอกเข้ามารบกวนและแย่งอาหารปลาในกระชัง ขนาดตาอวนที่ใช้ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 1.5 x 1.5 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหมุนเวียนของน้ำผ่านกระชัง กระชังควรมีฝาปิดซึ่งอาจทำจากเนื้ออวนชนิดเดียวกับที่ใช้กระชังหรือวัสดุที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาที่เลี้ยงหนีออกและปลาจากภายนอกกระโดดเข้ากระชัง รวมทั้งป้องกันไม่ให้นกมากินปลาที่เลี้ยง

โรคใบไหม้

โรคไหม้ (Rice Blast Disease)
พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.

อาการแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา


อาการแผลรูปตาตรงกลางมีสีเทา

อาการใบไหม้คล้ายน้ำร้อนลวก
โรคไหม้ระบาดในแปลงกล้า
อาการ
ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี
อาการโรคไหม้ในระยะข้าวออกรวง (โรคเน่าคอรวง)
การป้องกันกำจัด
  • ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
    ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1
    พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุโลก 1
ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1
หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู
ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม
ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม
  • หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่าง
    รวดเร็ว
     
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม
    โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์
    ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน อีดิเฟนฟอส ไตรไซคลาโซล
    ไอโซโพรไทโอเลน คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ

http://www.brrd.in.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=112.htm 

การจัดกาารฟาร์มสุกร

การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความเข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอและตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน
  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)
  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง 

การขยายพันธุ์พืช


  การขยายพันธุ์พืช คือการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้ได้จำนวนมากพอกับ
ปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น  โดยพืชต้นใหม่ที่ได้ยังคงลักษณะของพันธุ์ และคุณสมบัติที่ดีไว้เหมือนเดิม อาจกล่าวได้ว่า การขยายพันธุ์พืชเป็นการช่วย
รักษาลักษณะที่ดีของพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญหาย 


การขยายพันธุ์พืชมี 2 แบบ คือ
       1. แบบอาศัยเพศ
       2. แบบไม่อาศัยเพศ
                       การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะใช้ดอกเป็นอวัยวะ
                                    สืืบพันธุ์      กุ๊กไก่อยากให้เพื่อนๆ ศึกษาถึง
                                    ส่วนประกอบของดอกไม้ ต่อไปนี้

ส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ
      ดอกไม้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงจากชั้นนอกเข้าสู่ชั้นในที่สำคัญๆ
4 ส่วนได้แก่
      กลีบเลี้ยง (speal)  ส่วนนี้จะอยู่นอกสุด โดยเปลี่ยนแปลงเจริญมาจากใบ มีขนาดเล็กมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ดอกไม้ขณะตูม
      กลีบดอกไม้ (Petal)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มีขนาดใหญ่กว่า
กลีบเลี้ยง ซึ่งมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยผสมเกสร
       เกสรตัวผู้ (Stamen)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่เป็น
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มักมีหลายอันรวมกัน มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่คือ
             1. ก้านชูอับเรณู   มีลักษณะแท่งยาวทรงกระบอก มีหน้าที่ชูอับละอองเรณู
             2. อับเรณู   เป็นเม็ดเล็กๆ อยู่บนก้านชูอับเรณู   ภายในอับเรณูจะมีละออง
เรณูอยู่มากมาย มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายผงสีเหลือง
             3. ละอองเรณู   อยู่ภายในอับเรณู ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
       เกสรตัวเมีย (Pistill)  ส่วนนี้อยู่ชั้นในสุด   ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
              1. ยอดเกสรตัวเมีย    ส่วนนี้จะมีขนเส้นเล็กๆ    และมีน้ำหวานเหนียว ๆ สำหรับดักจับละอองเรณู รวมทั้งยังใช้เป็นอาหารสำหรับการงอกของหลอดละอองเรณู
              2. ก้านเกสรตัวเมีย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้อยู่ในระดับสูงๆ
เพื่อประโยชน์ในการผสมพันธุ์     นอกจากนี้ยังเป็นทางให้ละอองเรณูแทงหลอดเรณู
ลงไปเพื่อให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์ไข่ได้
              3. รังไข่   ส่วนนี้มีออวุล ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ บรรจุอยู่ภายใน
รังไข่หนึ่งอาจมี 1 ออวุล    หรือหลายออวุล ก็ได้ ภายในออวุี่ลเป็นแหล่งสร้าง
เซลล์ไข่ซึ่งทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย 

การขยายพันธุ์ชวนชม


การปักชำกิ่ง

เป็นวิธีขยายพันธุ์ที่ง่ายและสะดวก ต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ การปักชำสามารถทำได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงก่อนและหลังฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนและช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม เพราะในช่วงฤดูฝน ฝนตกชุกอาจทำให้กิ่งชำเน่าได้ง่าย ส่วนในช่วงฤดูแล้งกิ่งชำอาจจะเจริญเติบโตช้าเพราะอากาศแห้งและร้อนเกินไป การปักชำกิ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
  • เลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปยาวประมาณ 10-20 ซม. ไม่ต้องลิดใบออก นอกจากส่วนโคนที่จะเสียบลงในวัสดุปักชำ
  • ตัดโคนกิ่งในแนวเฉียงเป็นรูปปากฉลาม เพื่อสะดวกในการแทงลงในวัสดุชำ
  • จุ่มโคนกิ่งปักชำลงในน้ำยาเร่งรากเอ็กโซติก 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้พอหมาด
  • นำไปปักลงในวัสดุชำที่เป็นส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบกับทรายในอัตราส่วน 1:1 โดยปักกิ่งชำให้ลึก 2-3 ซม. กดรอบโคนต้นพอแน่น รดน้ำให้ชุ่มหรือรดด้วยน้ำผสมยาป้องกันเชื้อรา
  • ทิ้งไว้ในที่แสงแดดรำไร ประมาณ 20-25 วันรากก็จะงอก หลังจากนั้นก็นำไปปลูกเลี้ยงยังที่ต้องการต่อไป

การเสียบยอด

คือการนำยอดของชวนชมพันธุ์ดีมาเสียบกับต้นตอชวนชมที่มีความแข็งแรง เป็นการเปลี่ยนยอดของพันธุ์เดิมให้เป็นพันธุ์ใหม่ตามยอดที่นำมาเสียบ โดยยอดที่นำมาเสียบจะไม่กลายพันธุ์ไปจากต้นแม่ วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากแต่ได้ผลเร็วและต้นใหม่ที่ได้จะฟื้นตัวและแข็งแรงเร็ว ชวนชมที่ขายเป็นกระถางพันธุ์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเสียบยอด
  • การเตรียมต้นตอ นิยมใช้ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด อายุ 5-7 เดือนขึ้นไปมาเป็นต้นตอหรือใช้พันธุ์พื้นเมืองที่โตเต็มที่ เลือกเอาต้นที่แข็งแรงไม่เป็นโรคและมีขนาดโตใกล้เคียงกับขนาดของกิ่งพันธุ์ เพื่อรอยแผลที่ต่อจะสนิทกันดีและมีการเจริญเติบโตที่สมดุล ตัดขวางต้นตอห่างจากโคน 5-10 ซม. ผ่ากลางกิ่งต้นตอเป็นปากฉลามหรือรูปตัววีลึก 1.5-2 ซม. ส่วนยอดของต้นตอที่ตัดออกสามารถนำไปปักชำต่อไปได้
  • การเตรียมกิ่งพันธุ์ ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์จากต้นแม่พันธุ์ที่ต้องการนำไปเสียบกับต้นตอ จากนั้นตัดส่วนยอดของกิ่งพันธุ์ออกให้เหลือส่วนโคนยาวประมาณ 3-5 ซม. ให้มีใบติดอยู่ 1-2 ใบ และมีตาติดอยู่ 2-3 ตา เฉือนโคนกิ่งเป็นรูปลิ่มยาว 1.5-2 ซม. กะให้สามารถสวมกับต้นตอที่เตรียมไว้ได้พอดี
  • การเสียบยอด นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้มาเสียบลงในรอยผ่าของต้นตอ ให้รอยแผลของกิ่งพันธุ์และต้นตอแนบสนิทกัน ถ้ากิ่งพันธุ์และต้นตอมีขนาดไม่เท่ากันให้เสียบกิ่งพันธุ์ชิดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ใช้เทปพลาสติกพันรอยต่อให้แน่น คลุมต้นที่เสียบกิ่งเรียบร้อยแล้วด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชุ่มชื้น วางกระถางในที่ไม่ถูกแสงแดดจัด เปิดถุงรดน้ำวันละครั้ง ประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงเปิดถุงออก และหลังจากนั้นอีก 2-4 สัปดาห์จึงค่อยแกะเทปพลาสติกที่พันอยู่ออก รอยต่อจะติดกันสนิท

การตอนกิ่ง

จะใช้วิธีการตอนแบบปาดกิ่ง โดยเลือกกิ่งตอนที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป เป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 ซม. ความยาวไม่เกิน 1 ฟุต ใช้มีดที่คมและสะอาดปาดเข้าไปในเนื้อไม้เป็นแนวเฉียงขึ้นลึกเกือบถึงกึ่งกลางลำต้น เช็ดยางออกแล้วใช้ไม้จิ้มฟันหรือหลอดกาแฟค้ำกลางรอยปาดเพื่อไม่ให้แผลติดกัน ทิ้งไว้ประมาณ 7 วันเพื่อให้แผลแห้ง จากนั้นหุ้มรอยแผลด้วยดินหรือกาบมะพร้าว ห่อด้วยถุงพลาสติกใช้เชือกมัดหัวท้ายให้แน่น ประมาณ 20-30 วัน กิ่งตอนจะออกรากจึงตัดกิ่งตอนไปปลูกต่อไป

การเพาะเมล็ด

ควรใช้เมล็ดใหม่มาเพาะเพราะจะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง เลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ไม่ลีบ นำไปเพาะในวัสดุเพาะที่เป็นส่วนผสมระหว่างทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1 หรือขี้เถ้าแกลบล้วนๆ โดยโรยหรือวางเมล็ดบนวัสดุเพาะให้กระจายเท่าๆ กันแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะเบาๆ รดน้ำผสมยาป้องกันเชื้อราพอหมาดๆ วางภาชนะเพาะในที่มีแสงรำไรอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 3-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยงประมาณ 4-5 ใบ จึงเริ่มให้อาหารเสริม ฮอร์โมน และยาป้องกันเชื้อราอ่อนๆ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง เมื่อต้นชวนชมมีอายุ 1-2 เดือน จึงแยกไปปลูกในกระถางเดี่ยวต่อไป

ตะไคร้หอมไล่ยุง


ตะไคร้หอม
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ :   Citronella grass
วงศ์ :   GRAMINEAE
ชื่ออื่น  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซมยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ :
  • น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม  
    -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด 
    -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก
  • ทั้งต้น
    -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
ประโยชน์ทางยา
  • แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
  • ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
  • สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย
วิธีใช้ นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง
สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1%  Citronellal  7.7-14.2%  eugenol, camphor, methyl eugenol.
 
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_25.htm 

สารฆ่าแมลง


รูปแบบของยาฆ่าแมลงมีหลายรูปแบบ  ที่พบในประเทศไทยที่นิยมมี 
1Aerosol  เป็นการบรรจุของเหลวใส่ลงในกระป๋องอัดความดัน  ซึ่งจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์ (สารเคมีที่กล่าวข้างต้น)เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และจะถูกปล่อยออกมาในรูปของสเปรย์หรือหมอกควัน  รูปแบบนี้สะดวกในการใช้เพราะสามารถใช้ได้ทันทีและต่อการเก็บ  แต่ควรระมัดระวังถ้ากระป๋องมีรอยรั่วหรือถูกเผาจะระเบิดเป็นเศษโลหะชิ้นเล็กๆได้ 
2. Bait เป็นการผสมของสารออกฤทธิ์กับสิ่งที่แมลงกิน  ซึ่งเมื่อแมลงกินเข้าไปก็จะเกิดผลต่อร่างกายทันที  ดังนั้นควรจัดเก็บให้ปลอดภัยจากเด็ก  สัตว์เลี้ยง  หรือสัตว์ที่ไม่ใช้เป้าหมายที่จะกำจัด  
3. Chalk เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับผงแป้ง  ซึ่งจะเกิดผลต่อแมลงด้วยการสัมผัสกับสารออกฤทธิ์
4. ยาจุดกันยุง เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับขี้เลื่อย  เมื่อจุดยากันยุงจะเกิดความร้อน  แล้งส่งผลให้สารออกทธิ์กลายเป็นไอระเหยออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลง 
5. แผ่นกำจัดยุงไฟฟ้า  ใช้ความร้อนในการทำให้สารออกฤทธิ์ระเหยเป็นไอออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลงเช่นเดียวกับยาจุดกันยุง  ต่างกันตรงที่ใช้ไฟฟ้าเป็นการทำให้เกิดความร้อน

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น
1. Organophosphates Insecticides
            ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนังตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทเนื่องจากมันสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและส่งผลอย่างรวดเร็วต่อระบบประสาททำให้มันทำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สารประเภทนี้ไม่ถูกสะสมในไขมันและจะสลายตัวได้ในสภาพที่เป็นด่างทำให้ไม่สะสมในเนื้อเยื่อของคน  และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ  ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos, dichlovosหรือ DDVP ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ
            อันตรายของ dichlorvos มีค่า LD50  (หนู) 28-500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษร้ายแรง  การหายใจเข้าไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  เจ็บหน้าอก  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน  กล่องเสียงอักเสบ  ชัก  หัวใจเต้นผิดปกติ  การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดความระคายเคือง  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้มีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  มีน้ำลายขับออกมามาก   ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  มีเหงื่อขับออกมามาก  ท้องร่วง  การสัมผัสถูกตาทำให้รูม่านตาหดตัว  ปวดตา  เกิดการระคายเคือง  dichlorvos สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้  ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ  น้ำเสีย  หรือดิน   
            อันตรายของ chlorpyrifos มีค่า LD50  (หนู) 82-270 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เป็นพิษมาก  เป็นอันตรายเมื่อกินหรือหายใจเข้าไป  อาจระคายเคืองผิวหนัง  ถ้าได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  ทำลายตับหรือไต  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  แดง  และมองภาพไม่ชัดเจน  chlorpyrifos มีผลยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ซึ่งพบในเนื่อเยื่อประสาท  เซลเมดเลือดแดง  และพลาสมา  ถ้าได้รับสารมากเกินไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงทำให้ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ม่านตาหดตัว  เห็นภาพไม่ชัดเจน  มีน้ำมูกหรือน้ำลาย  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ขั้นร้ายแรงทำให้หมดสติ  ชัก  หายใจลำบาก  อาจตายได้เนื่องจากระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว  เป็นพิษมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ

2. Carbamate Insecticides

            ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีไนโตรเจน  และซัลเฟอร์   เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส  การกิน  และ การซึมผ่านผิวหนัง  ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase และกระตุ้นให้ระบบประสาทของแมลงทำงานมากเกินไป  สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว  สารเคมีที่ใช้ในตลาดคือ propoxur พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ,  สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ   และ bendiocarb เป็นผงกำจัดแมลงสาบ
            ยาฆ่าแมลงที่มี bendiocarb ผสมอยู่มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้  อันตรายของ bendiocarb มีค่า LD50  (หนู) 46-156 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก bendiocarb มีความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง  อาการอ่อนเพลีย  เห็นภาพไม่ชัดเจน  ปวดศีรษะ  วิงเวียน  ปวดท้องเกร็ง  เจ็บหน้าอก  ม่านตาแข็ง  เหงื่อออก  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ชีพจรลดลง  ถ้าสัมผัสทางตา  ทำให้ระคายเคืองตา  เจ็บตา  เห็นภาพไม่ชัดเจน  น้ำตาไหล  กล้ามเนื้อตาชักกระตุก  รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง   ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ  กล้ามเนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน 
            อันตรายของ propoxur มีค่า LD50  (หนู) 83-104 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เหงื่อออกมาก  การสัมผัสทางผิวหนังไม่เกิดการระคายเคืองแต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้  การกลืนกินเข้าไปทำให้เหงื่อออกมาก  น้ำลายขับออกมามาก  น้ำตาไหล  หายใจติดขัด  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  ท้องร่วง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  การสัมผัสถูกตาทั้งที่เป็นไอและของเหลวทำให้เกิดการระคายเคือง  propoxur เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ที่กินปลา
3. Botanicals and Pyrethroid Insecticides 
            สารเคมีในกลุ่มนี้นิยมใช้กำจัดแมลง  เช่นยาจุดกันยุงมีสารออกฤทธิ์คือ d-allethrin ซึ่งอาจใช้ในชื่ออื่น (pynamin forte หรือ esbiothrin)
            Botanicals เรียกว่า pyrethrins เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช  เป็นพิษโดยการสัมผัสหรือการกิน  ส่วนใหญ่ไม่คงอยู่ในสภาพแวดล้อม
            Synthetic pyrethroids คล้ายกับ pyrethrins ตามธรรมชาติแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มความคงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม  ส่วนใหญ่เป็นพิษด้วยการสัมผัส  เนื่องจากเป็นพิษสูงควรใช้ในปริมาณน้อยๆ  นอกจากนี้ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
            อันตรายของ deltamethrin มีค่า LD50  (หนู) 129-139 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดความระคายเคือง  ถ้าความเข้มข้นสูงจะไปทำลายเยื่อบุเมือก  ทางเดินหายใจส่วนบน  ทำให้กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ  เกิดอาการหายใจถี่รัว  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง  สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย  การกลืนหรือกินเข้าไป  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง  ทำให้ตาแดง เจ็บตา  น้ำตาไหล  deltamethrin ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง  แต่สามารถทำลายปอด  ทรวงอก  ระบบหายใจ  ไต  ท่อไต   กระเพาะปัสสาวะ  ทางเดินอาหาร  และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์  ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์หากมีการใช้และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม
            อันตรายของ cypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 247 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง  ต่อตา  และต่อผิวหนัง  อาการชาที่ผิวหนัง  คัน  ร้อนไหม้  ขาดความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ  ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน  หมดสติ  และอาจถึงตายได้   ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง  ท้องร่วง  ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ  cypermethrin เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ
            อันตรายของ cyphenothrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง  ความระคายเคืองต่อการสัมผัส  เกิดความรู้สึกผิดปกติบริเวณที่สัมผัส  รู้สึกแสบคัน  ซ่า  และชา  เกิดอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  วิงเวียน อาเจียน  ท้องร่วง  น้ำลายฟูมปาก  หมดสติ  ในกรณีที่รุนแรงจะมีน้ำในปอด  และกล้ามเนื้อบิดตัว  เกิดอาการชัก  cyphenothrin เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  
            อันตรายของ alphacypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  ผิวหนัง  ถ้าหายใจเข้าไป  ทำให้ปวดศีรษะ  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ตัวสั่น  มีน้ำลายมาก  เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  จะไม่สะสมในดินหรือน้ำ  และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว
            อันตรายของ fenvalerate มีค่า LD50  (หนู) 451 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคือง  เกิดอาการเวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ถ้าสัมผัสจะแดง  ไหม้  รู้สึกชา  ซ่า  และคัน  ถ้าสัมผัสตาจะเกิดอาการตาแดง  ปวดตา  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน
            อันตรายของ d-allethrin มีค่า LD50  (หนู) 425-860 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมากถึงปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและต่อผิวหนัง  การหายใจเอาไอของสารเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ  วิงเวียน  คลื่นไส้  การกลืนกินเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ  คลื่นไส้ วิงเวียน  อาเจียน  ท้องร่วง  มีน้ำลายมาก  เป็นลม  ในกรณีรุนแรงอาจเกิดน้ำเข้าปอด  กล้ามเนื้อบิดตัว  อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่ม่กระดูกสันหลังในน้ำ
            อันตรายของ cyfluthrin มีค่า LD50  (หนู) 500-800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาทำให้ตาแดง น้ำตาไหล  ที่ผิวหนังทำให้คันเป็นแผล  ผื่นแดง  รู้สึกซ่าบริเวณที่สัมผัสสาร  ถ้าหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อระบบหายใจและระบบประสาทส่วนกลาง  มีอาการสับสน  คลื่นเหียน  เวียนศีรษะ   การกลืนหรือกินเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร  ถ้าได้รับสารต่อเนื่องเป็นเวลานานมีอาการคลื่นเหียน  ปวดศีรษะ  ทานอาหารไม่ได้  อ่อนเพลีย  แพ้แอลกอฮอล์  เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ 
            อันตรายของ bifenthrin มีค่า LD50  (หนู) 632 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาเล็กน้อย  ไม่มีผลต่อผิวหนังแต่มีพิษเล็กน้อยถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย  เป็นพิษต่ออวัยวะภายในถ้ากลืนกินเข้าไป  ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณของสารที่ถูกดูดซึม  ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน  แต่ไม่เป็นพิษกับอวัยวะภายใน  bifenthrin เป็นสารก่อมะเร็ง  และเป็นพิษอย่างมากต่อดินและต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
            อันตรายของ allethrin  ค่า LD50 (หนูตัวผู้) มีค่า 1,100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  LD50 (หนูตัวเมีย) มีค่า 685 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางตาและผิวหนัง  ที่ผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้ซึ่งเมื่อถูกสารในปริมาณน้อยก็อาจทำให้คันและเป็นผื่นแดงได้  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  และเป็นอันตรายเมื่อสูดดมอาจก่อให้เกิดการแพ้  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  ถ้าสูดดมเข้าไปมากจะทำให้คลื่นไส้  ตัวสั่น  หงุดหงิดง่าย  เป็นลม  หมดสติ  ในระยะยาวอาจทำลายตับและไต  allethrin เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ  allethrin พบว่าใช้เป็นสเปรย์กำจัดยุงในชื่อ Prallethrin ด้วย
            อันตรายของ imiprothrin มีค่า LD50 (หนู) 900-1,800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  มีผลต่อระบบประสาท  เกิดอาการหน้ามืด  วิงเวียน  ปวดศีรษะ  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  และหมดสติ  สามารถซึมผ่านผิวหนังทำให้ไหม้หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณใบหน้า  ตา  หรือปาก  ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน  ผิวหนังจะแดงและอักเสบได้  ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ  เกิดอาการเช่นเดียวกับเมื่อกลืนเข้าไป ระคายเคืองต่อดวงตาชั่วคราว  ทำให้น้ำตาไหล  เห็นภาพไม่ชัดเจน 
            อันตรายของ permethrin มีค่า LD50 (หนู2,000-4,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  permethrin เป็นสารก่อมะเร็ง  ถ้าได้รับ permethrin แบบเรื้อรังอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์  คนได้รับ permethrin จะเกิดความผิดปกติในเซลเม็ดเลือดขาว
            อันตรายของ tetramethrin มีค่า LD50 (หนู4,640 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  คนที่ได้รับ tetramethrin ในระยะยาวจะมีความผิดปกติของ DNA
4. Insecticidal Bait Toxicants

            สารเคมีกลุ่มนี้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ผสมกับสิ่งที่กินแมลงสามารถกินได้  ดังนั้นจึงควรเก็บให้เป็นที่  ป้องกันไม่ให้เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์อื่นๆกินเข้าไปได้
            อันตรายของ hydramethynon มีค่า LD50  (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษน้อย  ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา  อาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  hydramethynon ที่พบในท้องตลาดใช้กำจัดมดเท่านั้น  เนื่องจากมีความเป็นพิษน้อย 
5. Inorganic Insecticides
            สารประเภทนี้ไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ  มักเป็นผลึกคล้ายเกลือ  มีความคงตัวและละลายน้ำได้  เช่น boric acid  พบในสเปรย์กำจัดแมลงสาบ
            อันตรายของ boric acid มีค่า LD50 (หนู) 2,660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของทางเดินหายใจ  อาจทำให้มีการดูดซึมของสารผ่านทางเยื่อเมือก  ทำให้เกิดอารคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  เซื่องซึม  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ปวดศีรษะ  อุณหภูมิในร่างกายลดลง  ความดันต่ำ  ไตได้รับอันตราย  เกิดภาวะที่ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน  หมดสติ  และตาย  การสัมผัสทางผิวหนังกิ่ให้เกิดการระคายเคือง  สารดูดซึมอย่างรวดเร็วทำลายผิวหนังหรือเป็นแผลไหม้  มีอาการเช่นเดียวกับการหายใจและกลืนกินเข้าไป  ในผู้ใหญ่ถ้ากินสารนี้เข้าไปมากกว่า 30 กรัมอาจทำให้ตายได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง  ตาแดง  ปวดตา  การได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักลด  อาเจียน  ท้องร่วง  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ชักกระตุกอย่างรุนแรง และโรคโลหิตจาง  boric acid อาจทำลายตับ  ไต  ทางเดินอาหาร  เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์  และ boric acid เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

            นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ใช้ฆ่าแมลงโดยตรง  แต่ใช้ร่วมกับสารในกลุ่ม Botanicals and Pyrethroid Insecticides เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์  พบในยากำจัดยุงประเภทใช้ไฟฟ้า  และสารเคมีที่พบในกลุ่มนี้คือ piperonyl butoxide

            อันตรายของ piperonyl butoxide มีค่า LD50 (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษน้อย  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  หายใจ  หรือซึมผ่านผิวหนัง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารตอนล่าง เช่นคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ถ้ากินเข้าไปมากจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  คลื่นไส้  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ตัวสั่น  หมดสติ  อาการจะมากขึ้นถ้าได้รับติดต่อกันนานๆ  piperonyl butoxide  เป็นอันตรายอย่างมากต่อปลา  มีการทดลองว่า piperonyl butoxide เป็นสารก่อมะเร็ง  และอาจมีผลต่อความผิดปกติของการสืบพันธุ์ 
 
ชนิด
ชื่อสารเคมี
ค่า LD50 ทางปาก(mg/kg)
ค่า LD50 ทางผิวหนัง (mg/kg)
Organophosphate Insecticides
dichlorvos,DDVP chlorpyrifos
28-500
82-270
75-107
2,000
Carbamate Insecticides
bendiocarb
propoxur
46-156
83-104
566-800
มากกว่า 1,000-มากกว่า 2,400
Botanicals and Pyrethroid Insecticides
deltamethrin
cypermethrin
cyphenothrin
alphacypermethrin
fenvalerate
d-trans-allethrin
cyfluthrin
bifenthrin
allethrin
imiprothrin
permethrin
tetramethrin
129-139
247
310-419
400
451
425-860
500-800
632
685-1,100
900-1,800
2,000-4,000
มากกว่า 4,640
มากกว่า 2,000
มากกว่า 2,000


มากกว่า 2,500

มากกว่า 5,000
มากกว่า 2,000
มากกว่า 2,500
มากกว่า 2,000
มากกว่า 4,000
  มากกว่า 15,000
Insecticidal Bait Toxicants
hydramethylnon
543
มากกว่า 5,000
Inorganic Insecticides
boric acid
2,660


ตารางแสดงชนิดของสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงในประเทศไทย  และความเป็นอันตราย