จำนวนผู้เข้าชม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สารพันข่าวเกษตรต่างประเทศ

เป้าหมายการเติบโตของภาคการเกษตรของอินเดีย

1.      นาย Manmohan Singh นรม. อินเดียได้กล่าวในงานครบรอบ 50 ปีของสถาบันวิจัย
การเกษตรอินเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ฉบับที่ 11 (ระหว่างปี ค.ศ. 2007 - 2012 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2012) ภาคการเกษตรของอินเดียขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 2.5 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (ระหว่างปี ค.ศ. 2002 - 2007) และได้ตั้งเป้าให้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (ระหว่างปี ค.ศ. 2012 – 2017) โดยรัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณ ในด้านการวิจัยและพัฒนาอีกหนึ่งเท่าตัวจากปัจจุบันที่เป็นเพียงร้อยละ 1 ของงบประมาณ  ทั้งนี้ อินเดียได้ตั้งเป้าการขยายตัวของภาคการเกษตรในอัตราร้อยละ 4 มาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แล้ว แต่ไม่เคยบรรลุเป้าหมายและล่าสุดประธานาธิบดีอินเดียได้เรียกร้องให้มีการปฎิวัติเขียวครั้งที่ 2 (Second Green Revolution) ซึ่งครั้งแรกได้ดำเนินการในช่วงทศวรรษที่ 1970s
2.      ได้มีการวิจารณ์ว่า การขยายตัวในระดับต่ำของภาคการเกษตรของอินเดียไม่น่าจะมี
สาเหตุจากการขาดแคลนการวิจัยและการพัฒนา เพราะอินเดียมีมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรและศูนย์วิจัยการเกษตรอย่างเพียงพอ ซึ่ง รมว. เกษตรอินเดียก็ได้ยืนยันว่า ผลผลิตการเกษตรของอินเดียที่เพาะปลูกได้ ในหลายๆ รัฐ เช่น ข้าวจ้าว ข้าวสาลี ฯ มีผลผลิตต่อไร่ (crop yield) สูงเทียบเท่ากับกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านการเกษตร ซึ่งปัญหาน่าจะอยู่ที่การขาดแคลนน้ำและการชลประทาน โดยชี้ว่าการเพาะปลูกในรัฐที่พึ่งพาน้ำฝนธรรมชาติจะได้ผลผลิตต่ำ ส่วนเขตที่มีการชลประทานที่ดีหรือเป็นเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะให้ผลผลิตสูง
3.      อินเดียเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน โดยภาค
การเกษตรคิดเป็นร้อยละ 16 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออก และที่ผ่านมาขนาดของภาคการเกษตรต่อ GDPได้ลดระดับลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ แม้สัดส่วนของภาคการเกษตรจะลดลงแต่ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ การเติบโตในภาคนี้นับเป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยลดความยากจนและการขาดสารอาหารของประชากรลงด้วย     
                        4.   ที่ผ่านมา อินเดียประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในหลายชนิด อาทิ ในปี ค.ศ. 2011/2012 คาดว่าอินเดียจะสามารถผลิตธัญพืชได้จำนวน 250 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอต่อการ บริโภคในประเทศและส่งออก แต่การเพิ่มขึ้นของผลผลิตการเกษตรก็ใช่ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะสามารถ เข้าถึงผลิตผลดังกล่าวได้ เนื่องจากมีความผันผวนของราคาจนบางครั้งเกินอำนาจซื้อของประชาชนบางส่วน อันเป็นสาเหตุทำให้คนจำนวนมากขาดสารอาหารและรัฐบาลต้องเข้ามาจัดหาธัญพืชราคาต่ำให้แก่ประชาชน ที่ยากจนและด้อยโอกาส นอกจากนั้น ภาคการเกษตรยังได้รับผลกระทบจากความไร้ประสิทธิภาพในด้านอุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านโลจิสติกส์ คลังเก็บสินค้า ห้องเย็น และการค้าปลีกแบบดั่งเดิมที่ต้องผ่านคนกลางหลายชั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของอินเดีย
                        5.   อินเดียมีพื้นที่การเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ) ประมาณ 159 ล้านเฮกตาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่โดยรวมของประเทศ โดยสินค้าเกษตรที่อินเดียสามารถผลิตได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก อาทิ ข้าวฟ้าง ผักจำพวกหัว ถั่วเขียว มะนาว ขิง พริก ปอ เมล็ดพืชใช้สกัดน้ำมัน มะม่วง กล้วย ฯ และที่ผลิตได้เป็นอันดับ 2 อาทิ ข้าวจ้าว ข้าวสาลี อ้อย ชา พริกไทย ไหม ถั่วลิสง ฯ รวมทั้งเป็น 1 ใน 5 ของประเทศที่สามารถผลิตกาแฟและฝ้ายได้สูงที่สุดในโลก
                        6.   มีการวิจัยพบว่า อินเดียจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกได้อีกมาก หากสามารถลดปริมาณการสูญเสียของผลิตผลการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวได้ รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้ได้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความสามารถในด้านนี้ เช่น จีนและบราซิล มีการประเมินว่า อินเดียมีการสูญเสียผลผลิตการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยธัญพืชสูญเสียร้อยละ 10 และผลิตผลการเกษตรที่เน่าเสียง่าย ร้อยละ 25 - 35 
                        7.  ข้อสังเกตและข้อคิดเห็น
                             7.1  ความด้อยประสิทธิภาพในด้านโลจิสติกส์  ความไม่เพียงพอของคลังสินค้า                  ห้องเย็น และการค้าปลีกแบบดั่งเดิม (unorganized retail) มีส่วนทำให้ผลผลิตการเกษตรของอินเดียสูญเสียในอัตราสูง และทำให้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากก่อนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งการที่รัฐบาลอินเดียมีนโยบายที่จะเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติในสาขาค้าปลีกแบบหลายเครื่องหมายการค้าก็มีเป้าหมายที่จะช่วยลดการสูญเสียดังกล่าวด้วย
                             7.2   หากภาคการเกษตรของอินเดียสามารถแก้ไขปัญหาผลผลิตการเกษตรต่อไร่ต่ำ รวมทั้งสามารถลดการสูญเสียของสินค้าการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยวก็น่าจะส่งผลให้ภาคการเกษตรของอินเดียมีความเข้มแข็งและขยายตัวไปในทิศทางเดียวกับภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการ อันจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำและระบบการชลประทานที่ดีก็เป็นปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรของอินเดียเช่นกัน
                                                                                                        
                                                                                                  สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ
                                                                                                            

ข้าวอินทรีย์


ข้าวอินทรีย์คืออะไร
       ข้าวอินทรีย์ (Organic rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture หรือ Organic Farming) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็น  แนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลิตผลในดินและน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้างส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิต ที่ดี

สถานการณ์การผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย
       ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา กรมวิชาการเกษตรได้ให้การสนับสนุนบริษัทในเครือสยามไชยวิวัฒน์ และบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าว จำกัด ดำเนินการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยให้คำปรึกษาแนะนำ และประสานงานกับทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจากจังหวัดพะเยา และเชียงรายขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก หลังจากได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไว้เพียงบางส่วนเพื่อเข้า ร่วมโครงการแล้ว ได้มีการชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจหลักการและขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์ที่ถูก ต้อง การจัดทำข้อตกลงและการยอมรับนำไปปฏิบัติตามหลักการการผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งจัดนักวิชาการออกติดตามให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนของการผลิต จากการดำเนินงานตั้งแต่ฤดูกาลผลิตปี 2535 เป็นต้นมา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณปีละ 100 รายในพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตรวมประมาณปีละ 2,000 ตัน
       นอกจากนี้ยังมีองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ให้การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งมีบริษัทเอกชนผลิตข้าวอินทรีย์จำหน่ายโดยตรง เช่น บริษัทลัดดา จำกัด เป็นต้น

ตลาดและราคาข้าวอินทรีย์
       ข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ส่วนที่เหลือจะวางจำหน่ายภายในประเทศ ราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าราคาข้าวเปลือก โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 10 แต่ในส่วนที่เป็นข้าวสารบรรจุวางจำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่าข้าวสาร ทั่วไปประมาณร้อยละ 20 สำหรับในตลาดต่างประเทศข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ จะมีราคาใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์บาสมาติ

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
       การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจาก สารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบ ยั่งยืนอีกด้วย 
       การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสำคัญ  ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ

เทคโนโลยีการศึกษา บทเรียนการเกษตรทฤษฎีใหม่

 เกษตรกรน้อยในเมือง - ชวนคุณพ่อแม่พาน้องๆ หนูๆ มาสนุกกับการใช้ชีวิตแบบเกษตรกร

เกษตรกรน้อยในเมือง - ชวนคุณพ่อแม่พาน้องๆ หนูๆ มาสนุกกับการใช้ชีวิตแบบเกษตรกร

E-mailPrintPDF

เห็ดขอนขาว